วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563

บริการบนอินเทอร์เน็ต

E-mail

  เป็นบริการรับส่งจดหมายในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้ โดยสามารถส่งได้ทั้งข้อความและไฟล์ต่างๆ ซึ่งผู้รับและผู้ส่งต้องมีที่อยู่อีเมล (e-mail address) เพื่อระบุตัวตนบนเครือข่าย เปรียบเสมือนกับเป็นที่อยู่ที่รับใช้รับและส่งจดหมาย 

มารยาทของการสื่อสารผ่าน E-mail

   1.ใช้หัวเรื่องที่สรุปสาระสำคัญของเนื้อหาในอีเมล
   2.เขียนเนื้อหาให้มีสาระในการสื่อสารที่ชัดเจน
  3.เขียนข้อความให้กระชับไม่เยิ่นเย้อเหมาะสมกับกาลเทศะและลงชื่อผู้เขียนทุกครั้ง
  4.ใช้ bcc ในการระบุผู้รับ เมื่อส่งข้อความถึงผู้รับจำนวนมาก เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของ    ผู้รับที่ระบุในbcc
  5.อย่าใช้อักษรภาษอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ซึ่งแสดงถึงการตะโกนหรือการข่มขู่ผู้อ่าน
  6.จัดระเบียบข้อความเป็นย่อหน้าเพื่อสะดวกต่อการอ่าน
  7.ใช้ภาษาที่เหมาะสมและตัวสะกดที่ถูกต้อง
  8.ใช้การตอบกลับ (reply) แทนการเขียน (compose) ข้อความใหม่ เพื่อให้สามารถติดตามเรื่อง    ราวของอีเมลที่เกี่ยวข้องกันได้สะดวก
  9.ใช้การตอบกลับไปยังทุกคน (reply all) เมื่อจำเป็น เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ในการตอบอีเมลนั้น
  10.ใช้อักษรตัวย่อหรือสัญรูปอารมณ์ที่ไม่ฟุ่มเฟื่อยจนเกินไปและคาดหวังว่าผู้รับสามารถเข้าใจได้

บล็อก ( Blog )

  เป็นระบบการบันทึกข้อมูลลำดับเหตุการณ์ในแต่ละวัน ประสบการณ์ความคิดของผู้เขียนบล็อกผ่านเว็บไซต์ ในรูปแบบการนำเสนอหัวข้อ ซึ่งผู้อื่นสามารถอ่านและแสดงความคิดเห็นได้ รายการหัวข้อที่ปรากฎในบล็อกมักจะเรียงลำดับหัวข้อที่นำเสนอล่าสุดไว้ที่ส่วนบน คำว่า "บล็อก" มาจากคำว่า "เว็บล็อก" เนื่องจากข้อมูลที่ปรากฏมีลักษณะเป็นการบันทึกข้อมูลผ่านเว็บที่มีการระบุวันเวลารวมถึงผู้บันทึกข้อมูลแต่ละหัวข้อไว้ หัวข้อข้อมูลหรือความเห็นที่ถูกนำเสนอในบล็อกอาจจัดทำโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เป็นเจ้าของบล็อก หรือบุคคลที่มีความสนใจร่วมกัน หรือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะเหมือนกันจนเกิดชุมชนในบล็อกขึ้น ข้อมูลและความเห็นสามารถนำเสนอในรูปแบบของข้อความภาพได้

โปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์

  เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นเพื่อสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้งานและอาจร้ายแรงถึงขั้นทำลายระบบคอมพิวเตอร์ให้เสียหายทั้งระบบโดยจะทำการแนบโปรแกรม
แปลกปลอมเข้าไปกับโปรแกรมอื่นๆ ได้โดยผ่านสื่อบันทึกข้อมูล


  เวิลด์ไวด์เว็บ

การเรียกดูเว็บ
  เป็นโปรแกรมใช้สำหรับแสดงเว็บเพจ และสามารถเชื่อมโยงไปยังส่วนอื่นในเว็บเพจเดียวกันหรือเว็บเพจอื่นผ่านการเชื่อมโยงหลายมิติ หรือไฮเปอร์ลิงค์ (hyperlink) หรือเรียกสั้นๆว่า ลิงค์ (link) เว็บเบราว์เซอร์ช่วยเพิ่มความน่าสนใจในการใช้งานอินเทอร์เน้ต นอกเหนือไปจากการสื่อสารหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างเครือข่าย ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ เช่น Mozilla Firefox, Microsoft Internet Explorer, Apple Safari, Google Chrome และ Opera
ที่อยู่เว็บ
  ในการอ้างอิงตำแหน่งของแหล่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่ผู้ใช้ร้องขอ เช่น เว็บเพจ สามารถทำได้โดยการระบุยูอาร์แอล(UnifromResourceLocator:URL)
โพรโทคอล ใช้สำหรับระบุมาตรฐานที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านเว็บ เช่น เอชทีทีพี และเอฟทีพี (File Transfer Protocol: FTP) ในกรณีของเอชทีทีพี ส่วนใหญ่แล้วผู้ใช้สามารถจะละส่วนของโพรโทคอลนี้ได้ เนื่องจากถ้าไม่ระบุโพรโทคอล เว็บเบราว์เซอร์จะเข้าใจว่าผู้ใช้มีความประสงค์จะใช้โพรโทคอล เอชทีทีพีเพื่อเข้าถึงเว็บเพจ
การค้นหาผ่านเว็บ
  ปรแกรมค้นหา หรือเสิร์ซเอนจิน (SEARCH ENGINES)ใช้สำหรับค้นหาเว็บเพจที่ต้องการโดยระบุคำหลักหรือคำสำคัญ (keyword) เพื่อนำไปค้นในฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งรวบรวมเว็บเพจต่างๆ ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นรายการเว็บเพจที่ประกอบด้วยคำหลักที่ระบุ ช่วยให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกประเภท หลากหลายรูปแบบ เพื่อการศึกษาหรือเพื่อความบันเทิงได้อย่างรวดเร็ว โปรแกรมค้นหาสามารถให้บริการค้นหาข้อมูลตามประเภท หรือแหล่งข้อมูล เช่น ค้นหาเฉพาะข้อมูลที่เป็นภาพ วีดิทัศน์ เสียง ข่าว แผนที่ หรือบล็อก โปรแกรมค้นหาแต่ละโปรแกมอาจใช้วิธีที่ต่างกันในการจัดอันดับความเกี่ยวข้องของเว็บเพจกับคำหลักที่ระบุ โดยเว็บเพจที่มีความเกี่ยวข้องกับคำหลักมากที่สุดจะอยุ่ในอันดับบนสุด ตัวอย่างโปรแกรมค้นหา เช่น Ask, AltaVista, Bing, Excite, Google และ Yahoo
เมตาเสริร์ชเอนจิน (metasearch enging) เป็นโปรแกรมค้นหาที่ไม่มีการรวบรวมเว็บเพจไว้เป็นฐานข้อมูลของตนเอง แต่ค้นหาจากฐานข้อมูลของโพปรแกรมค้นหาอื่นๆ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการที่สุด จากโปรแกรมค้นหาหลายโปรแกรมได้ในเวลาอันรวดเร็ว โดยอาจแสดงผลลัพธ์รวมจากทุกโปรแกรมค้นหาไว้ในชุดเดียวกัน และตัดรายการผลลัพธ์ที่ซ้ำซ้อนกันออกไป หรืออาจแสดงผลลัพธ์ของแต่ละโปรแกรมค้นหาแยกเป็นคนละชุด ซึ่งอาจทีรายการที่ซ้ำซ้อนกันปรากฏฝอยู่ตัวอย่างของเมตาเสิร์ชเอนจิน เช่น Dogpile, Mamma และVivsimo





  

Internet

ความหมายของอินเตอร์เน็ต

  เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรธุรกิจ หน่วยงานของรัฐบาลสถานศึกษา ตลอดจนเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ข้อมูล สารสนเทศ สินค้าและบริการที่นำเสนอผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เหล่านี้สามารถ เข้าถึงได้จากคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆ จากที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน สำนักงาน โรงเรียน ชายทะเล หรืออาหารทั่วโลก
ในปัจจุบันมีคนจากทั่วโลกนับพันล้านคนที่เข้าถึงบริการบนอินเทอร์เน็ต เช่น เวิลด์ไวด์เว็บ อีเมล (e-mail) พาณิชอิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce)ห้องคุย (chat room) การส่งสารทันที (instent messaging) และวอยซ์โอเวอร์ไอพีหรือวีโอไอพี (Voice over IP: VoIP) 

โครงสร้างขอองอินเตอร์เน็ต

  ประกอบด้วยเครือข่ายระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับนานาชาติที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน 5.2 อินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงข้อมูลจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังเครือข่ายอื่นด้วยความเร็วและคุณภาพที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบการสื่อสาร และสื่อที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่าย เช่น สายโทรศัพท์ สายไฟเบอร์ออพติกและคลื่นวิทยุ
ถึงแม้ในปัจจุบันพื้นที่ให้บริการอินเทอร์เน้ตทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อินเทอร์เน็ตก็ยังคงเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ หน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชนมีหน้าที่ในการดูแล และจัดการจราจรข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตในเฉพาะเครือข่ายที่รับผิดชอบ

การเข้าถึงอินเตอร์เน็ต

  ผู้ใช้ที่เป็นคนทำงาน นักเรียน หรือนักศึกษา มักจะเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายของหน่วยงาน โรงเรียนหรือมหาวิยาลัย ซึ่งเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ขณะที่ผู้ใช้ทั่วไปอาจใช้วิธีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยใช้โมเด็มผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งเป็นอินเทอร์เน็ตความเร็วต่ำ หรืออาจเชื่อมต่อผ่านบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต (broadband Internet connection) เช่น เอดีเอสแอล (Asymmetric Digital Subscriber Line : ADSL) เคเบิลโมเด็มที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายเคเบิลทีวี หรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย เช่น ไวไฟ หรืออินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม
สถานที่สาธารณะหลายแห่ง เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย สนามบิน ห้างสรรพสินค้า โรงแรม มักจะมีบริการอินเทอร์เน็ตทั้งแบบมีสายและไร้สาย เพื่อให้ผู้ใช้อุปกรณ์แบบพกพาสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้โดยสะดวก
        ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือไอเอสพี (Internet Service Provider : ISP) ให้บริการการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้ โดยอาจคิดค่าบริการเป็นรายเดือน บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน้ตในประเทศไทย เช่น ทีโอที ซีเอส ล็อกซ์อินโฟ กสท โทรคมนาคม ทีทีแอนด์ที และสามารถเทลคอม นอกจากนี้ไอเอสพียังให้บริการเสริมอื่นๆ เช่น อีเมล เว็บเพจ พื้นที่จัดเก็บข้อมูลหรือโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ตัวอย่างการเข้าสู่บริการอินเทอร์เน็ตโดยผ่านผู้ให้บริการ
การติดต่อสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต
  คอมพิวเตอร์ที่ติดต่อสื่อสารระหว่างกันบนอินเทอร์เน็ต มีคุณลักษณที่แตกต่างกัน เช่น ประเภทของคอมพิวเตอร์ ซีพียู หรือระบบปฏิบัติการนอกจากนี้รูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เข้าสู่อินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะเป็นแลนหรือแวนก็อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกัน การที่อินเตอร์เน็ตสามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่มีความแตกต่างกันให้สามารถทำงานร่วมกันได้ เนื่องจากใช้โพรโทคอลเดีวยกันในการสื่สารที่เรียกว่าทีซีพี/ไอพี(TransmissionControlProtocol:TCP/IP)
เลขที่อยู่ไอพี
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันบนอินเตอร์เน็ต จะมีหมายเลขอ้างอิงในการติดต่อสื่อสารเรียกว่า เลขที่อยู่ไอพีหรือไอพีแอดเดรส(IP address)ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกันเลย โดยไอพีแอดเดรสประกอบด้วยเลข4ชุด ซึ่งแยกกันด้วยเครื่องหมายจุด เช่น 202.29.77.155 ซึ่งเป็นไอพีแอดเดรสของเว็บไซต์สถาบันส่งเสริมดารสอนวืทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ระบบชื่อโดเมน
เนื่องจากเลขที่อยู่ไอพีอยู่ในรูปของชุดตัวเลขซึ่งยากต่อการจดจำและอ้างอิงระหว่างการใช้งานดีงนั้นจึงกำหนดให้มีระบบชื่อโดเมน(Domain Name System: DNS)ซึ่งแปลงเลขที่อยู่ไอพีให้เป็นชื่อโดเมนที่อยู่ในรูปของชื่อย่ออังกฤษหลายส่วนคั่นด้วยเครื่องหมายจุด